Physical Therapy

กายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู

แบบครบวงจร รวมถึงกายภาพผู้สูงอายุ ด้วยทีมนักกายภาพบำบัดและแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้เชี่ยวชาญ ด้านกายภาพฟื้นฟูและป้องกันสมรรถภาพร่างกาย และการกระตุ้นสมรรถภาพ พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยจะให้บริการในผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญได้แก่ กลุ่มกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคระบบทางเดินหายใจ, บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น

ELECTRICAL STIMULATION

การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า

ตามปกติร่างกายของเราจะใช้โปรตีนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยโปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า รวมทั้งประจุไอออน เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะไปเร่งขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และเร่งขบวนการลำเลียงสารอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นประสาทซึ่งตามปกติจะสามารถถูกเร้าต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน โดยเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะสามารถเร้าเส้นประสาทที่อยู่ส่วนปลายด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดการตอบสนองการตื่นตัวของเส้นประสาทได้ สามารถรักษาปัญหากล้าเนื้อลีบ อ่อนแรง เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มการทํางานของเอนไซม์ลดการ อักเสบ ลดปวด กล้ามเนื้อได้ดี เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยือ

ข้อดี จุดเด่น ของการรักษาด้วย การกระตุ้นไฟฟ้า Electrical stimulator



  • การกระตุ้นไฟฟ้ากายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ดังนี้
  • ซ่อมแซมเนื้อเยื้อ
  • ลดปวด ลดบวม
  • ช่วยการเคลื่อนไหว หรือ เลียนแบบการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง
  • คลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิตในกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำ และน้ำเหลือง
  • เพิ่มความแข็งแรงในมัดกล้ามเนื้อที่มีภาวะอ่อนแรง
  • เพิ่มความเร็วในการนำกระแสประสาท
  • ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

HOT PACK / COLD PACK

การรักษาด้วยแผ่นประคบ ร้อน / เย็น

ประคบร้อน ประคบเย็น กับศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์แผนปัจจุบันมารองรับว่าสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จนการประคบร้อน ประคบเย็นได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นหนึ่งบทของการบำบัด บรรเทา และ การรักษาในการแพทย์ประยุกต์

แผ่นประคบร้อน

เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น โดยความร้อนจากการประคบนั้นจะไปทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว

  • เพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
  • เพิ่มการทํางานของเอนไซม์
  • ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ
  • กระตุ้นการหลังสาร ENDORPHINS



แผ่นประคบเย็น

เป็นการช่วยให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว รวมไปถึงช่วยให้เลือดหยุดไหล โดยการประคบเย็นมักทำเมื่อได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน

  • ช่วยลดการอักเสบระยะเฉียบพลัน
  • ลดอาการปวด บวม
  • ลดเมตาบอลิซึมของเซลล์ทำให้ผ่อนคลาย

MOBILIZATION TECHNIQUE

เทคนิคการรักษา ขยับ ดัด ดึง ข้อต่อ

เป็นเทคนิคการรักษาด้วยการกด ดัด ดึงการให้แรงด้วยอัตราเร็วน้อยและมีช่วงกดทียาวลึกลงต่อกระดูกสันหลังและข้อต่อในช่วงการเคลือนไหวปกติ โดยทําซ้ำย้ำตรงจุดทีมีการจํากัดการเคลือนไหวเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น กระดูกหรือข้อต่อต่างๆที่มีการยึดติดหรือเคลื่อนไหวได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น กระดูกสันหลังติด ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด หรือข้อยึดติดจากการไม่ได้เคลื่อนไหว เมื่อข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้ดี เกิดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อต่อ กล้ามเนื้อรอบๆก็จะลดการเกร็งตัวลง ส่งผลให้อาการปวดขณะเคลื่อนไหวก็ลดลง

ผลทางสรีรวิทยา

  • การขยับข้อต่อทำให้เกิดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อต่อ
  • กระตุ้นการทำงานของเซลล์เพื่อเพิ่มอัตราการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
  • ลดความเจ็บปวดของข้อต่อเนื่องจากการผ่อนคลายความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

ULTRASOUND THERAPY

การรักษาด้วยอัลตราซาวด์

การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ อัลตราซาวน์เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm. ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก ลดอาการบวม และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็นคลื่นเสียงความถีสูง 0.8-3 เมกะเฮิรตซ์ ผ่านกลไก REVERSE PIEZOELECTRIC EFFECT ทําให้เกิดความร้อนและการสั่นสะเทือนต่อเนื้อเยื่อได้ลึก2-5 เซนติเมตร ลดการยึดแข็งของข้อต่อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดการปวด มีผลในการเร่งขบวนการสร้างเนื้อเยื่อ กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และเร่งการสมานของเนื้อกระดูก

ผลที่ได้จากการรักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ทางกายภาพบำบัด

  • เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อในชั้นลึก
  • เพื่อลดอาการปวดลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • เพื่อลดอาการเกร็งตัวของเนื้อเยื่อและพังผืด
  • เพื่อลดอาการบวมเนื่องมาจากการอักเสบในระยะแรก

ELECTRICAL TRACTION

การรักษาด้วยเครื่องดึงหลัง / คอ

เป็นการใช้แรงดึงกระทําร่างกายในทิศทางแยกผิวข้อต่อออกจากกันเพื่อยืดเนื้อเยื่อช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดจากแรงกดที่กระดูกสันหลัง แยกข้อต่อหรือกระดูกโดยแรงทีกระทําต้องมากพอและนานพอในทิศทางทีเหมาะสม

ผลของการดึงหลังและดึงคอ

  • ยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการเกร็ง
  • ลดแรงกดที่ทำต่อข้อต่อของกระดูกคอหรือหลัง
  • ลดการกดเส้นประสาทสันหลัง โดยการดึงทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น
  • ลดแรงกดบนหมอนรองกระดูก และลดการยื่นของหมอนรองกระดูกสันหลังโดยทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น
  • ทําให้ INTERVERTEBRAL FORAMEN กว้างออก ลดการกดรากประสาท
  • แยกข้อต่อของกระดูกสันหลัง


ข้อบ่งชี้ ของ Traction

กลุ่มอาการที่เกิดจากการกดรากประสาทเนื่องจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated disc) หรือโรคข้อกระดูกเสื่อม (Spondylosis)

โรคข้อกระดูกเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Spondylosis) ซึ่งมีอาการปวดหรือเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอหรือหลังร่วมด้วย

  • กระดูกสันหลังเคลื่อนระดับเอวและสะโพกระดับน้อย (Lumbosacral spondylolisthesis grade I-II)

PULMONARY REHABILITATION

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง

Breathing exs. การฝึกการหายใจ คือ การหายใจเข้าออกเพื่อสุขภาพในหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันตามจุดประสงค์ของการฟื้นฟูและการรักษาแล้วแต่ประเภทพยาธิสภาพของคนไข้ซึ่งมีจุดประสงค์ดังนี้ คือ ทำให้การถ่ายเทอากาศของปอดดีขึ้น ป้องกันภาวะปอดแฟบ

1. ลดภาวะหอบเหนือย

2. ปรับรูปแบบการหายใจ

3. ป้องกันปอดแฟบ


Chest Percussion/Vibration การทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอก ลงไปถึงแขนงหลอดลม ลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ จะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนปลายค่อยๆ หลุดเลื่อนไหลออกมาตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อระบายเสมหะออก

1. ช่วยร่อนระบายเสมหะ

2. ป้องกันการสะสมของเสมหะ


Chest Mobilization การออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้ออก กล้ามเนื้อท้อง ช่วยการหายใจ ในคนที่นั่งทำงานนานๆ

1. เพิ่มการระบายอากาศ

2. เพิ่มการขยายตัวของทรวงอก

CARDIAC REHABILITATION

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ

คือการออกกำลังกายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกลับมาปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ มีชีวิตความเป็นอยู่ใกล้เคียงกับสภาพก่อนป่วยมากที่สุดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีอาการเหนื่อยน้อยลง โดยไม่เพียงคำนึงถึงสภาพหัวใจของผู้เข้ารับการฟื้นฟูเท่านั้น แต่ยังใส่ใจต่อปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

ประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

1. ช่วยลดอัตราการตาย ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคหัวใจลดอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บแน่นหน้าอก

2. ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมและการออกกำลังกายเพิ่มความสามารถในการกลับไปทำงาน

3. เพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้



ใครบ้างที่ควรทำการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

1. ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือผู้ป่วยที่ได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้บอลลูนและขดลวด

2. ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ไม่มีอาการกำเริบ

3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหลอดเลือดหัวใจ)

4. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง,โรคอ้วน เป็นต้น

HYPERBARIC OXYGEN THERAPY

บำบัดด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์แรงดันสูง

Hyperbaric Oxygen Therapy หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า HBO คือตัวช่วยที่ใช้รักษาผู้ป่วยโดยนำวิธีการรักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% แรงดันสูง ออกซิเจน มีความสำคัญกับร่างกาย ทางการแพทย์จึงนำข้อดีเหล่านี้เข้ามาประยุกต์ปรับใช้ในการดูแลรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรค เห็นผลได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผลของการบำบัด

  • ลดความรู้สึกเหนื่อยล้า ลดอาการเม้าค้าง
  • เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ลดอาการปวดไมเกรณ
  • ลดอาการปวดศรีษะเรื่อรัง
  • ฟื้นฟูการบาดเจ็บของเนื้อเยื้อ
  • ฟื้นฟูกระดูกและเนื้อเยื้อหลังรังสีบำบัด
  • รักษาแผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ แผลหายยาก
  • เสริมภูมิต้านทาน ลดอาการภูมิแพ้
  • กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • กระตุ้นการเผาผลาญ

S T R O K E P R O G R A M

โปรแกรมการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการดูแล ให้ข้อมูลในเรื่องความรู้และการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของความพิการ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน เคลื่อนไหวและเดินได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ การรักษาและการบำบัดฟื้นฟูสามารถช่วยลดอาการผิดปกติ และเพิ่มสมรรถภาพของผู้ป่วยได้

อาการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

  • อัมพาตอ่อนแรง ขยับแขนขาได้น้อย หรือไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  • ปากเบี้ยว มีน้ำลายไหล พูดไม่ชัด ดูดกลืนน้ำและอาหารลำบาก
  • ชาแขนขาข้างที่อัมพาต ไม่มีความรู้สึกเวลาโดนของร้อน หรือของมีคม
  • กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก อาจพบได้ในระยะต่อมาของการเป็นอัมพาต
  • แขนและมือปวดบวม เกิดจากการไม่เคลื่อนไหวของแขนและขา
  • มีปัญหาด้านการกลืน ทำให้มีโอกาสเกิดสำลักอาหารเข้าปอด และเป็นโรคปอดอักเสบตามมาได้

S U S P E N S I O N E X E R C I S E

การออกกำลังกายแขวนพยุง

การฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและระบบประสาท มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บและมีภาวะเรื้อรัง การฟื้นฟูการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพจะเสมือนการรีเซตรูปแบบการเคลื่อนไหวใหม่ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการรักษาให้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถทําการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อในการออกกําลังกายได้อย่างเหมาะสม เพิ่มหรือคงกำลังกล้ามเนื้อของร่างกาย เพื่อช่วงในการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยที่มีกำลังกล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

เหมาะสำหรับ

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ข้อต่อ กล้ามเนื้อบาดเจ็บ
  • ฝึกการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัด
  • ผู้พักฟื้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

Tilt table

เตียงฝึกยืน

เป็นอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด มีลักษณะเป็นเตียงที่มีสายรัดเพื่อเพิ่มความมั่นคง และสามารถปรับมุมเอียงของเตียงได้ตั้งแต่ท่านอนราบ 0 องศา ถึง ยืนตัวตั้งตรง 90 องศา นิยมใช้ในการรักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในผู้มีภาวะต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง, ผู้มีภาวะติดเตียง

การใช้ในทางกายภาพบำบัด

โรคหลอดเลือดสมอง มักพบว่ามีปัญหาในการยืน และเดิน ในระยะแรก ๆ ทำให้ได้รับการฟื้นฟูในท่านอนหรือท่านั่งเป็นหลัก ไม่สามารถทำในท่ายืนได้ การใช้เตียงจะช่วยให้สามารถฝึกในท่ายืนได้เร็วขึ้นอย่างปลอดภัย ซึ่งมีส่วนช่วยให้การเพิ่มความแข็งแรงของขาได้เร็วขึ้น การใช้เตียงช่วยยืนจะสามารถช่วยได้ดังนี้

  • การยืนทรงตัว
  • การฝึกลงน้ำหนัก
  • การเพิ่มความแข็งแรงเนื้อขา
  • ลดการเกร็ง กระตุกของขาข้างอ่อนแรง
  • การยืดกล้ามเนื้อน่อง และเท้า
  • กระตุ้นการรับรู้ข้อต่อ


ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของไขสันหลัง มักพบว่าในผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงร่วมด้วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้หลายอย่าง การใช้เตียงช่วยในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีส่วนสำคัญทั้งในการฟื้นฟู รักษา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง ได้แก่

  • การยืนทรงตัว
  • เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา
  • ชะลอการลดลงของมวลกระดูก
  • ป้องการการติดของข้อเท้า และเท้า
  • ลดการกระตุกของกล้ามเนื้อขา

Physical Therapy Team

ทีมนักกายภาพ ประจำศูนย์เวลเนสรีจู

นาย จีรพงษ์ ศรีพระจันทร์

นักกายภาพ

นางสาว อารญา แก้วมะณี

นักกายภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy